วันเสาร์ที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

ใบความรู้

การนำชาดกเข้ามาในประเทศไทย
ชาดกเป็นคัมภีร์วรรณคดีบาลีในพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาท พระพุทธศาสนานิกายนี้ได้แพร่หลายและมีอิทธิพลในประเทศไทยสมัยสุโขทัย สมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช พระองค์ทรงนิมนต์พระสังฆราชผู้ซึ่งเป็นนิกายลังกาวงศ์มาจากนครศรีธรรมราชมาประดิษฐานพระพุทธศาสนาในกรุงสุโขทัยเสื่อมใสศรัทธา ดังปรากฏในศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง พระสังฆราชได้นำเอาพระคัมภีร์พระไตรปิฎก และอรรถกถามายังสุโขทัย และมีการศึกษาพระคัมภีร์เหล่านั้นในราชสำนักด้วย
ในสมัยกรุงศรีอยุธยาเรื่องชาดกได้แพร่หลายมากในสมัยพระบาทสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ พระองค์ได้ให้นักปราชญ์แต่งมหาชาติคำหลวงขึ้นใน พ.ศ. 2025 ต่อมาพระเจ้าทรงธรรมได้ทรงพระราชนิพนธ์มหาชาติสำนวนไทยขึ้นอีกฉบับหนึ่ง เรียกว่า “กาพย์มหาชาติ”
ในสมัยรัตนโกสินทร์พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ได้โปรดให้มีการทำสังคายนาพระไตรปิฏก เมื่อปี พ.ศ. 2331 คัมภีร์ชาดกซึ่งอยู่ในพระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย ก็ได้รับการสังคายนาด้วย

การแปลชาดกในประเทศไทย
ก่อนที่จะกล่าวถึงการแปลชาดกในประเทศไทย จะกล่าวถึงการชำระจารึกและการพิมพ์ พระไตรปิฏกในประเทศไทยเสียก่อน เพื่อเป็นการนำเข้าหาหัวข้อการแปลชาดกในประเทศไทย
การชำระจารึกและการพิมพ์พระไตรปิฏกในประเทศไทย แบ่งออกเป็น 4 สมัย ดังนี้ คือ
สมัยที่ 1 สมัยพระเจ้าติโลกราช เมืองเชียงใหม่ ได้มีการชำระและจารพระไตรปิฏกลงในใบลานด้วยอักษรล้านนาในปี พ.ศ. 2020
สมัยที่ 2 สมัยรัชกาลที่ 1 กรุงเทพ ฯ ได้มีการชำระและจารพระไตรปิฏกด้วยอักษรขอมในปี พ.ศ. 2331
สมัยที่ 3 สมัยรัชกาลที่ 5 ได้มีการชำระ คัดลอกด้วยอักษรขอมและแปลพระไตรปิฏกเป็นอักษรไทย พิมพ์ครั้งแรก 39 เล่มชุด จำนวน 1,000 ชุด ในปี พ.ศ. 2431 – 2436
สมัยที่ 4 สมัยรัชกาลที่ 7 ได้มีการชำระและแปลพระไตรปิฏกเพิ่มจากการพิมพ์ในสมัยรัชกาลที่ 5 เป็น 6 เล่ม รวมเป็น 45 เล่ม ครบบริบูรณ์ ในปี พ.ศ. 2468 – 2473
ต่อไปนี้ขอกล่าวถึงการแปลชาดกในประเทศไทย กรแปลนิบาตชาดกมีขึ้นจากพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวถึงการแปล และการพิมพ์นิบาตชาดกดังข้อความตอนหนึ่งว่า “ถ้าหนังสือเช่นนี้มิได้ในเมืองไทยทั้งหมด ก็นับว่าเป็นเครื่องอลังการใหญ่ในหนังสือแลภาษา ของเรา” และด้วยพระราชดำริดังกล่าวนี้ เมื่อคราวบำเพ็ญพระราชกุศลในงานพระศพ พระเจ้าลูกเธอพระองค์เจ้าหญิงศรีวิไลยลักษณ์กรมขุนสุพรรณภาควดี จึงได้ทรงอาราธนาสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรสให้เป็นประธาน พร้อมด้วยพระราชาคณะผู้ใหญ่อื่นอีกกับทั้งกรมพระสมมตอมรพันธุ์ ช่วยกันเริ่มแปลนิบาตชาดกถวายตามพระราชประสงค์ทันพิมพ์แจกในงานพระศพครั้งนั้น 3 วรรค รวม 30 นิทาน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระราชนิพนธ์กระแสพระราชดำริและพระราชปรารภพิมพ์เป็นคำนำไว้ข้างต้น
ครั้งถึง ปี พ.ศ. 2453 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวสวรรคต พวกบัณฑิตผู้รู้ภาษาบาลีดีทั้งพระภิกษุและฆราวาสปรารภกันว่าควรช่วยกันแปลนิบาตชาดกให้สำเร็จตลอดดังพระราชประสงค์ เพื่อเป็นการบำเพ็ญกุศลสนองพระเดชพระคุณ เมื่อกรรมการหอพระสมุดสำหรับพระนครมีพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระสมมตอมรพันธุ์ เป็นประธานได้ทราลและได้ให้การสนับสนุนโดยจัดหาต้นฉบับหนังสือนิบาตชาดกภาษาบาลี รวบรวมหนังสือที่แปลมาแล้วและรับจะจัดพิมพ์ เมื่อความนั้นแพร่ออกไปผู้รู้ภาษาบาลีทั้งพระภิกษุและฆราวาสซึ่งมีศรัทธาได้แปลนิบาตชาดกที่ค้างอยู่สำเร็จและหอพระสมุดสำหรับพระนครได้พิมพ์สำเร็จ
ปัจจุบันนี้ หนังสือนิบาตชาดกฉบับแปลสมบูรณ์ทั้ง 547 เรื่องมีอยู่ 4 ฉบับ คือ ฉบับหอสมุดแห่งชาติ ฉบับของสำนักอบรมครูวัดสามพระยา โดยใช้ชื่อว่า “พระคัมภีร์ชาดกแปล ฉบับ ส.อ.ส.” พิมพ์ในปี พ.ศ. 2493 ฉบับของ ส.ธรรมศักดี มี 5 เล่ม จบบริบูรณ์และฉบับสุดท้าย คือ ฉบับของมหา มกุฏราชวิทยาลัยซึ่งแปลรวมทั้งพระไตรปิฏกและอรรถกถาไว้ในเล่มเดียวกันมี 10 เล่ม นอกจากฉบับที่สมบูรณ์ดังกล่าวมาแล้ว ยังมีผู้นำเอานิบาตชาดกไปใช้ให้เกิดประโยชน์นั่นคือ บางคนเลือกแปลและย่อเฉพาะบางเรื่องที่ง่าย ๆ สำคัญและเหมาะสมสำหรับผู้เรียนผู้อ่านเพื่อเป็นนิทานสุภาษิตหรือเป็นหนังสืออ่านประกอบก็มี
เฉพาะมหานิบาตชาดก คือ ทศชาติ (พระเจ้า 10 ชาติ) มีผู้นำไปแต่งเป็นร้อยกรอง หรือ ร้อยแก้วก็มี เพื่อการเทศน์และการอ่านเพื่อความรู้และความเพลิดเพลิน บางคนเลือกเอาเฉพาะเรื่องใดเรื่องหนึ่งมาเรียบเรียงเพื่อสอนเป็นคติเตือนใจในการดำเนินชีวิต บางคนก็เลือกเอาเฉพาะเรื่องที่รู้จักกันทั่ว ๆ ไป นำไปเรียบเรียงให้เข้ากับนิทานพื้นบ้านของไทย ซึ่งทั้งหมดนั้นก็มีจุดมุ่งหมายอย่างเดียวกันคือเป็นคติหรือเป็นเรื่องสอนใจ สามารถนำไปปรับให้เข้ากับการดำเนินชีวิตในปัจจุบันเพื่อให้เกิดสันติสุขตลอดไป

แหล่งกำเนิดของนิทานชาดก นิทานชาดก 547 เรื่อง มีลักษณะเป็นนิทานพื้นบ้านเก่าแก่มีมก่อนพุทธกาลดังพระบรมราชา ธิบายเรื่องนิบาตชาดกของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ตอนหนึ่งว่า “ เรื่องชาดกนี้ไม่ใช่เรื่องราวครั้งพุทธกาลเป็นเรื่องมีมาเก่าแก่ก่อนพุทธกาล ที่จะพึงกำนดได้ด้วยหลักฐานหลายอย่าง ถึงในชาดกเองก็รับว่าเป็นเรื่องเก่าด้วยกัน อดีตทุก ๆ แห่ง เมื่อพระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรม ถึงที่ควรจะให้ความชัดขึ้นด้วยชักนิทานมากล่าว มาชักมาสาธกให้เห็นความกระจ่างขึ้น คำที่แสดงโดยวิธีนี้เรียกว่า

ไม่มีความคิดเห็น: